NASA ค้นพบระบบสุริยะใหม่ TRAPPIST-1 และดาวเคราะห์อีก 7 ดวง

กินเที่ยว
NASA ค้นพบระบบสุริยะใหม่ TRAPPIST-1 และดาวเคราะห์อีก 7 ดวง

คณะนักวิจัยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA แถลงถึงการค้นพบครั้งสำคัญ

เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ตามเวลาประเทศไทย คณะนักวิจัยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA แถลงถึงการค้นพบครั้งสำคัญ คือ ค้นพบระบบสุริยะใหม่ ซึ่งตั้งชื่อว่า TRAPPIST-1 มีดาวเคราะห์ 7 ดวง (b-h) ขนาดใกล้เคียงกับโลก โคจรรอบดาวฤกษ์

 

ภาพดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวง ในระบบสุริยะ TRAPPIST-1
 

 

รู้หรือไม่ว่า.. นักดาราศาสตร์ทีมนี้ได้ค้นพบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่พบเพียงดาวเคราะห์ 3 ดวง ต่อมาได้ใช้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (NASA Spitzer Space Telescope) ซึ่งมีความละเอียดสูง ส่องไปที่เดิม แล้วจึงได้ค้นพบดาวเคราะห์เพิ่มเติมดังกล่าว

 



ภาพระบบสุริยะ TRAPPIST-1 เปรียบเทียบกับระบบสุริยะของเรา



ภาพเปรียบเทียบวงโคจร ระยะห่างของดวงดาว รัศมี และส่วนประกอบมวลสสาร ของดาว b-h
กับ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร

 

 

จากภาพ ระบบสุริยะ TRAPPIST-1 มีดาวเคราะห์ 3 ใน 7 ดวง ได้แก่ ดาว e-g ที่อยู่ในโซนสีเขียว (Habitable Zone) คือ มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิต

ถ้าเปรียบเทียบกับโซนสีเขียวในระบบสุริยะของเรา จะเหมือนกับโซนดาวศุกร์ถึงดาวอังคาร และจุดที่เหมาะสมที่สุด คือ โลกของเรา ดังนั้น ในระบบสุริยะ TRAPPIST-1 นั้น จุดที่เหมาะสมที่สุด ก็น่าจะเป็นดาว f และดาว f นั้น มีขนาดใกล้เคียงกับโลก มีความห่างพอดีจากดาวฤกษ์ อุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป จึงคาดว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากที่สุด

 

ภาพจำลองของพื้นผิว TRAPPIST-1f



ภาพจำลองขณะมองดาวฤกษ์จาก TRAPPIST-1e


 
และในปี 2561 NASA มีกำหนดที่จะส่งกล้องโทรทรรศน์อันใหม่ James Webb Space Telescope ขึ้นไปสำรวจอวกาศอีก เรามาจับตามองกันต่อค่ะ!

 
ขอบคุณภาพประกอบจาก NASA